วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 

Knowledge :



Activities media presentations :




The science : 
  • แรงและการเคลื่อนที่ คือ สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
  • การหมุน คือ เป็นการแปลงที่จุดทุกจุดของรูปต้นแบบเคลื่อนที่ไปเป็นมุมเดียวกันรอบจุดตรึงอยู่กับที่ที่กำ หนดหรือจุดหมุน การหมุนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาหรือตามเข็มนาฬิกา
  • พลังงานศักย์ คือ พลังงานที่ถูกเก็บสะสมไว้และพร้อมที่จะนำมาใช้
  • พลังงานจลน์ คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุอันเนื่องจากอัตราเร็วของวัตถุขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
  • แรงลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ในทิศทางแนวราบ
  • อากาศ คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำ
  • แรงโน้มถ่วง คือ เป็นแรงซึ่งโลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น โดยมีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางโลก เป็นแรงที่ยึดเหนี่ยววัตถุให้ติดอยู่กับพื้นโลก มิฉนั้นวัตถุหรือแม้กระทั้งบรรยากาศจะหลุดปลิวไปในอากาส
  • แรงดัน คือ แรงที่กระทำตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
  • การเสียดทาน คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ เกิดขึ้นทั้งวัตถุที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ และจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

Application :
  1. นำตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์อย่างง่ายที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย ให้เด็กได้เล่นในกิจกรรมเกมการศึกษา
  2. นำแนวคิดที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้กับเด็ก เพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน

Evaluation :
Self : วันนี้เข้าเรียนตางเวลา ร่วมกิจกรรมภายในห้องอย่างเต็มที่ ทำให้รู้สึกสนุกกับการเรียนในครั้งนี้มาก เนื่องจากได้ร่วมแสดงความคิดภายในชั้นเรียน
Friends : เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และมีสิ่งประดิษฐ์ที่แปลลกใหม่เพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดกันภายในชั้นเรียน
Teacher : เทคนิคและคำแนะนำดีๆ ดังนี้
  • การประดิษฐ์สื่อควรง่ายและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และควรเป็นสิ่งที่แปลกใหม่น่าสนใจ
  • การเล่นควรให้เด็กคิดค้นวิธีการเล่นด้วยตนเอง
  • การเล่นครูควรบอกวิธีการเล่น และข้อพึ่งระวังของสื่อ เพื่อความปลอดภัยของเด็ก
  • สิ่งประดิษฐ์ถ้าเด็กทำได้ด้วยตนเอง ถือเป็นของเล่นสำหรับเด็ก
  • การตั้งเกณฑ์ควรตั้งเกณฑ์เดียว เช่น ผลไม้ที่มีสีแดงกับไม่มีสีแดง

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 10

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันเสาร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 15.40 
หมายเหตุ : เรียนชดเชย

Knowledge :



Applications :
1.นำตัวอย่างการเขียนแผนของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ เช่น หน่วยไก่ กล้วย ส้ม ปลา ผีเสื้อ กบ เพื่อนำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในอนาคตได้
2. นำเทคนิคการนำเสนอและการสอนของอาจารย์เช่น การบรรยาย การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง ที่อาจารย์แนะนำไปเป็นสื่อในการเก็บเด็กได้

Evaluation :
Self :วันนี้ร่างกายไม่ค่อยพร้อมในกันเรียนเท่าไร เนื่องจากเป็นหวัดส่งผลให้สมองไม่ค่อยตื่นตัวในการเรียน แต่ก็ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่เท่าที่ร่างกายและสมองรับได้
Friends : วันนี้เพื่อนทุกคนมีความพร้องทั้งการส่งงานและการเข้าเรียน มีเพียงส่วนน้อยที่ไม่เข้าเรียน อาจเนื่องมาจากว่าเป็นวันเสาร์  หรือติดธุระส่วนตัว
Teacher : มีเทคนิคพร้อมคำแนะนำดีๆ ดังนี้
  1. การจะกระตุ้นการเรียนรู้หรือความสนใจเด็กควรใช้คำถามหรือ สื่อที่เร้าความสนใจ
  2. ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ควรเขียนในรูปแบบบูรณาการ คือการนำความรู้เดิมมาบวกความรู้ใหม่ เพื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่
  3. การสอนไ่ควรจำกัดเนื้อหาควรมีการขยายรูปกิจกรรมตามที่เด็กสนใจหรือหากมีโอกาส แต่ก็ไม่ควรลืมเนื้อหาหลัก
  4. การเรียนรู้ของเด็กเริ่มจากการอนุรักษ์ คือ การเห็นด้วยตาและก็ตอบ แต่ครูควรส่งเสริมเด็กไปสู่ขั้นใช้เหตุผลเพื่อที่เด็กจะนำทักษะเรานี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง



วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 9

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิกเรียน 15.40 

Knowledge :



Preview


Application :
1.การจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์สำคัญ เราต้องให้เด็กลงมือกระทำจึงจะคล้องจ้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
2. นำเทคนิคการเรียนแผนการจัดประสบการณ์ที่อาจารย์แนะนำในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตเมื่อออกไปฝึกสอนจริงๆ เพราสิ่งที่สำคัญสำหรับครูไม่น้อยคือการเขียนแผน เพราะจะทำให้รู้ว่าอาทิตย์หนึ่งเราจะสองอะไรบ้าง การดำเนินกิจกรรมอย่างไร
3.ก่อนที่จะไปเขียนแผนการจัดประสบการณืสิ่งที่สำคัญคือเนื้อหาหรือหน่วยที่จะเรียนและ ต้องทำความเข้าใจในหลักสูตรเพื่อจะทำให้เราเขียนแผนการสอนได้ง่ายยิ่งขึ้น

Evaluation :

Self : วันนี้มีความพร้อมที่จะเรียน เนื่องจากมีการเตรียมตัวในการเขียนแผนมาเรียบร้อย และรู้สึกสนุกในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เนื่องจากอาจารย์มีเทคนิคกระตุ้นให้อยากเรียนรู้ตลอดเวลา
Friends : เพื่อนบางกลุ่มยังไม่มีความพร้อมที่จะเรียนเนื่องจากไม่มีการเตรียมตัวและทำการบ้านมาทำให้ส่งผลล่าช้าให้เพื่อนคนอื่นต้องมาค่อย แต่พออาจารย์สอนทุกคนก็ตั้งใจฟังอาจารย์

Teachers : มีเทคนิคการสอนที่ดีดังนี้
  1. เทคนิคการกระตุ้นให้นักศึกษามีแรงจูงใจอยากที่จะเรียนโดยใช้ปริศนาคำทาย และมุขที่กระตุ้นการเรียนรู้
  2. มีการบรรยายประกอบสื่อที่อาจารย์เตรียมมา (ตัวอย่างแบบฟรอมแผนการจัดประสบการณ์)
  3. มีการยกตัวอย่างกิจกรรมเพื่อนำนำให้นักศึกษานำไปปรับใช้ในการเขียนแผนกลุ่มที่ตนเองทำตามหน่วยที่คิดเอง และอธิบายรายละเอียดในแต่ละวันว่าควรจะจัดประสบการณืแบบไหนเพื่อให้ตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Media Sciences

Media Sciences...
Name : ธนูไม้ไอติม


Equipment : 


steps :

นำหนังยางมามัดไม้ไอติมดังภาพ


การทำลูกธนู ตัดชิ้นส่วนอุปกรณ์ดังภาพ

จากนั้นนำกระดาษมาตกแต่งและติดเข้ากับไม้ไอติม

สื่อสำเร็จ

สิ่งที่ได้ : หลังจากที่ได้ทำการทดลองใช้สื่อตัวนี้ สังเกตได้ว่า "หากเรานำลูกธนูไม้ไอติมมาลองยิงกับคันธนูยิ่งดึงหนังยางยาวและตึงมากลูกธนูไม้ไอติมก็จะพุงไปไกลมาก แต่ถ้าดึงไม่ตึงลูกธนูไม้ไอติมก็จะพุงได้ใกล้ สาเหตุการเคลื่อนไหวเกิดจากการออกแรงดึงของเรา





วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 8

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
 ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.

Today there is not teaching of Midterms.

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 7

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 15.40 

Knowledge :
Activities in class.....
1.กิจกรรมสำหรับเด็กอย่างง่าย แกนทิชชูแปลงกาย
Equipment : 
Tissue cores ,Scissors,Paper,Glue,Yarn
Steps :
นำแกนทิชชูมาเจาะรูดั่งภาพ
รอยไหมพรมหรืออาจใช้เชือกก็ได้ รอยไปมาดั่งภาพ
วาดวงกลมลงกระดาษขนาดเท่ากับแกนทิชชู
แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นวงกลม
ตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการของแต่ละบุคคล
นำกระดาษที่ตกแต่งแล้วมาติดบนแกนทิชชู

How to play
                                                                     
2.กิจกรรมนำเสนอบทความ article :
2.1 การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำรับเด็กปฐมวัย The development of basic sciences skills young children using herbal dring activities: ดูเพิ่มเติม
     การส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมน้ำดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือปฏิบัติ เด็กได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ได้รู้จักการเปรียบเทียบ การชั่ง การตวง และวัดสิ่งต่างๆด้วยตนเอง อีกทั้งเรียนรู้กระบวนการทำงาน จนสามารถนำไปพัฒนาความคิดและสื่อความหมายได้ โดยครูมีบทบาทหน้าที่ค่อยอำนววยความสะดวกและให้คำแนะนำ หรืออาจใช้คำถามกระตุ้นเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะทางการคิด

2.2 สอนลูกเรื่องแสงและเงา(Teaching Children about Light and Shadow) : ดูเพิ่มเติม
        Teaching Children about Light and Shadow หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
- แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้ และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น- เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
    • ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
    • สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
    • การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
    • แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป 



2.3 การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง(Teaching Children about Gravity) :ดูเพิ่มเติม
      Teaching Children about Gravity  การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง 
- เด็กจะได้รับประสบการณ์เรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเด็ก 
- เด็กจะเกิดความตระหนักถึงคุณค่าของแรงโน้มถ่วงที่ส่งผลให้การอยู่ในโลก และเป็นธรรมชาติ
เด็กจะได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากการฝีกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วง เริ่มจากการที่เด็กฝึกหัดตั้งคำถาม เป็นข้อสงสัยที่ต้องหาคำตอบจากการสืบค้น การปฏิบัติ จนได้ผลที่เป็นจริง ปรากฏอย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมตามวัย และในขณะที่ปฏิบัติด้วยตนเอง
- เด็กจะได้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ คือทักษะการสังเกต ทักษะจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวมีความสำคัญที่ทำให้เด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ตนเองต่อไป


2.4 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) ดูเพิ่มเติม
       Teaching Children about Flashlight  การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง
เรื่องไฟฉายเป็นสาระนำทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่
  • ทักษะสังเกต (แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีสีเหลืองอ่อน แสงไฟฉายจะสว่างหรือดับ เกิดจากคนเราเป็นผู้ กระทำบังคับ เป็นต้น)
  • ทักษะจำแนกประเภท (จัดกลุ่มไฟฉายตามขนาดใหญ่ เล็ก สี รูปแบบ ฯ)
  • ทักษะการวัด (วัดความยาวของกระบอกไฟฉาย นับจำนวนถ่านไฟฉาย)
  • ทักษะการสื่อความหมาย (อธิบายเหตุที่เกิดแสง วาดภาพไฟฉาย และลักษณะของลำแสง)


Applications : 1.สามารถนำเทคนิคการจัดกิจกรรมอย่างง่ายที่อาจารย์นำมาใช้กับนักศึกษาไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้เนื่องจากกิจกรรมไม่ซับซ้อนหรือยากจนเกินไป
2.หลังจากที่ได้ฟังการสรุปบทความจากเพื่อนทำให้เข้าใจในหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปจัดกิจกรรมได้จริงในภายหน้า

Evaluation :
Self : ความความตื่นตัวในการเรียนรู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ฝึกปฏิบัติ ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่เพื่อนำไปปรับใช้ Friends : มีเทคนิคการนำเสนอบทความโดยในช่วงท้ายมีการใช้คำถามเพื่อเช็คว่าผู้ฟัง ได้ฟังหรือมีความรู้ความเข้าใจกับเรื่องที่ตนได้นำเสนอมากน้อยเพียงใด และเพื่อนทุกคนสามารถตอบคำถามได้ แต่จะมีส่วนน้อยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ Teachers : มีการสอนโดยใช้กิจกรรมด้วยวิธีการสาธิตเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อฝึกให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการออกแบบแกนทิชชูของตนเองให้สวยงามและแปลกใหม่ และมีการบรรยายจาก Powerpoint ในหัวข้อแผนการจัดประสบการณ์ (Science) อีกทั้งมีการแนะนำเทคนิคและวิธีการในการเขียนแผน