วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 7

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 15.40 

Knowledge :
Activities in class.....
1.กิจกรรมสำหรับเด็กอย่างง่าย แกนทิชชูแปลงกาย
Equipment : 
Tissue cores ,Scissors,Paper,Glue,Yarn
Steps :
นำแกนทิชชูมาเจาะรูดั่งภาพ
รอยไหมพรมหรืออาจใช้เชือกก็ได้ รอยไปมาดั่งภาพ
วาดวงกลมลงกระดาษขนาดเท่ากับแกนทิชชู
แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นวงกลม
ตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการของแต่ละบุคคล
นำกระดาษที่ตกแต่งแล้วมาติดบนแกนทิชชู

How to play
                                                                     
2.กิจกรรมนำเสนอบทความ article :
2.1 การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำรับเด็กปฐมวัย The development of basic sciences skills young children using herbal dring activities: ดูเพิ่มเติม
     การส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมน้ำดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือปฏิบัติ เด็กได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ได้รู้จักการเปรียบเทียบ การชั่ง การตวง และวัดสิ่งต่างๆด้วยตนเอง อีกทั้งเรียนรู้กระบวนการทำงาน จนสามารถนำไปพัฒนาความคิดและสื่อความหมายได้ โดยครูมีบทบาทหน้าที่ค่อยอำนววยความสะดวกและให้คำแนะนำ หรืออาจใช้คำถามกระตุ้นเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะทางการคิด

2.2 สอนลูกเรื่องแสงและเงา(Teaching Children about Light and Shadow) : ดูเพิ่มเติม
        Teaching Children about Light and Shadow หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
- แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้ และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น- เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
    • ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
    • สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
    • การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
    • แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป 



2.3 การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง(Teaching Children about Gravity) :ดูเพิ่มเติม
      Teaching Children about Gravity  การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง 
- เด็กจะได้รับประสบการณ์เรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเด็ก 
- เด็กจะเกิดความตระหนักถึงคุณค่าของแรงโน้มถ่วงที่ส่งผลให้การอยู่ในโลก และเป็นธรรมชาติ
เด็กจะได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากการฝีกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วง เริ่มจากการที่เด็กฝึกหัดตั้งคำถาม เป็นข้อสงสัยที่ต้องหาคำตอบจากการสืบค้น การปฏิบัติ จนได้ผลที่เป็นจริง ปรากฏอย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมตามวัย และในขณะที่ปฏิบัติด้วยตนเอง
- เด็กจะได้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ คือทักษะการสังเกต ทักษะจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวมีความสำคัญที่ทำให้เด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ตนเองต่อไป


2.4 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) ดูเพิ่มเติม
       Teaching Children about Flashlight  การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง
เรื่องไฟฉายเป็นสาระนำทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่
  • ทักษะสังเกต (แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีสีเหลืองอ่อน แสงไฟฉายจะสว่างหรือดับ เกิดจากคนเราเป็นผู้ กระทำบังคับ เป็นต้น)
  • ทักษะจำแนกประเภท (จัดกลุ่มไฟฉายตามขนาดใหญ่ เล็ก สี รูปแบบ ฯ)
  • ทักษะการวัด (วัดความยาวของกระบอกไฟฉาย นับจำนวนถ่านไฟฉาย)
  • ทักษะการสื่อความหมาย (อธิบายเหตุที่เกิดแสง วาดภาพไฟฉาย และลักษณะของลำแสง)


Applications : 1.สามารถนำเทคนิคการจัดกิจกรรมอย่างง่ายที่อาจารย์นำมาใช้กับนักศึกษาไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้เนื่องจากกิจกรรมไม่ซับซ้อนหรือยากจนเกินไป
2.หลังจากที่ได้ฟังการสรุปบทความจากเพื่อนทำให้เข้าใจในหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปจัดกิจกรรมได้จริงในภายหน้า

Evaluation :
Self : ความความตื่นตัวในการเรียนรู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ฝึกปฏิบัติ ทำให้ได้แนวคิดที่แปลกใหม่เพื่อนำไปปรับใช้ Friends : มีเทคนิคการนำเสนอบทความโดยในช่วงท้ายมีการใช้คำถามเพื่อเช็คว่าผู้ฟัง ได้ฟังหรือมีความรู้ความเข้าใจกับเรื่องที่ตนได้นำเสนอมากน้อยเพียงใด และเพื่อนทุกคนสามารถตอบคำถามได้ แต่จะมีส่วนน้อยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ Teachers : มีการสอนโดยใช้กิจกรรมด้วยวิธีการสาธิตเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อฝึกให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในการออกแบบแกนทิชชูของตนเองให้สวยงามและแปลกใหม่ และมีการบรรยายจาก Powerpoint ในหัวข้อแผนการจัดประสบการณ์ (Science) อีกทั้งมีการแนะนำเทคนิคและวิธีการในการเขียนแผน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น