วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

Lesson 6

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.30 

Knowledge :
Activities in class.....
1.กิจกรรมสำหรับเด็กอย่างง่าย กังหันมหัศจรรย์
Equipment :
steps :
พับกระดาษครึ่งหนึ่ง
ใช้กรรไกรตัดกระดาษอีกครึ่งตามรูป
จากนั้นพับกระดาษฝั่งที่ไม่ได้ตัดขึ้นมาเล็กน้อยและเอาที่หนีบ หนีบไว้

การทดลอง : จะเห็นได้ว่ากังหันจะหมุนซึ่งเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก


2.กิจกรรมการนำเสนอ article :
2.1วิทยาศาตร์และการทดลอง : ดูเพิ่มเติม
     สารเคมีต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของกินของใช้ประจำบ้านเรา เช่น ผงซักฟอก สบู่ก้อน น้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู บางอย่างก็มีความเป็นกรด(รสเปรี้ยว) บางอย่างเป็นด่าง(รสฝาด) เราสามารถทดสอบกรด-ด่างได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องชิมรส ..ก็ของบางอย่างกินไม่ได้นี่นา เริ่มการทดลองกันเลย
สิ่งที่ต้องใช้         
1.ดอกอัญชัน(สีน้ำเงิน)  15 ดอก
2.น้ำร้อน
3.ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ เช่น สบู่ก้อนต้ดเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำมะนาว ผงซักฟอก น้ำส้มสายชู น้ำยา ล้างจาน
วิธีทดลอง        นำดอกอัญชันมาแช่ในน้ำร้อนสักครู่ จะสังเกตว่ามีสีน้ำเงินละลายออกมาจากกลีบดอกทิ้งไว้จนกลีบดอกซีดจึงตักขึ้น นำน้ำสีน้ำเงินที่ได้แบ่งใส่แก้วใสตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบ และอย่าลืมเหลือสีเดิมไว้เปรียบเทียบด้วยนะ ติดป้ายชื่อผลิตภัณฑ์ บนแก้วแต่ละใบเพื่อจะได้ไม่สับสนตอนบันทึกผลการทดลองเติมสารเคมีที่ต้องการทดสอบ 1 ช้อนชา ลงไปในแก้วแต่ละใบ แล้วคนให้เข้ากัน      น้ำสีน้ำเงินของดอกอัญชัน สามารถเป็นอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-ด่างได้ โดยสารที่เป็น
กรดจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงสารที่เป็นด่างจะทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว

2.2วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย :ดูเพิ่มเติม
       วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ
          ความสำคัญของกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ 
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ 

2.3 สอนลูกเรื่องอากาศ :ดูเพิ่มเติม
     การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ
การสอนเรื่องอากาศมีความสำคัญดังนี้
-อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนเรา อยู่กับคนเราตลอดเวลา เพราะเราใช้อากาศหายใจ หากขาดอากาศหายใจก็เสียชีวิตทันที สำหรับเด็กปฐมวัย เขาจะเริ่มสังเกตจากความจริงของชีวิตว่า เขามีสิ่งหนึ่งเข้าออกผ่านช่องจมูก -เด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย -อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา เป็นต้น
-
สิ่งของเครื่องใช้หลายชนิดใช้อากาศประกอบ เช่น สูบลมเข้าลูกโป่ง เป่าถุงนอนให้ป่องออกเป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ใช้ฝึกการสังเกตธรรมชาติรอบตัวให้แก่เด็ก-เรื่องอากาศที่ดีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทุกคนควรรู้ และรักษาสภาพอากาศที่ดีให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพควรได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก จึงเป็นเรื่องควรอบรมสั่งสอนเด็กปฐมวัยด้วย


2.4จัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย : ดูเพิ่มเติม
      วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ 
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 
1. ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่
2.ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้าน
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ 
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 

2.5 ฝึกทักษะสังเกตนำสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ :ดูเพิ่มเติม
ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
  • สังเกตด้วยตา  
  • สังเกตด้วยหู มีความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆ ที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษา  
  • สังเกตด้วยจมูก การใช้จมูกดมกลิ่น
  • สังเกตด้วยลิ้น การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ 
  • ฝึกสังเกตด้วยผิวหนัง การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่าง ๆ 

3.การนำเสนอหน่วยการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม
Jasmine Unit..

Applications : 

1. การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กควรเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และก่อนที่เราจะไปสอนเด็กเราก็ต้องเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของเด็กเพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้ตรงตามความต้องการและการเรียนรู้ของเขา
2.ตัวอย่างกิจกรรมในวันนี้สามารถนำไปจัดกิจกรรมกับเด็กได้จริง เด็กสามารถทำได้ แถมยังประยุกต์ได้อีกหลายอย่างแต่ที่สำคัญ ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมหรือท้องถิ่นของเด็กด้วย เพื่อที่จะง่ายต่อการหาสื่อมาใช้สอน
3.จากบทความที่เพื่อนำเสนอทำให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้นทั้งเรื่องทักษะและความรู้ สามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต

Evaluation :
Self : เขาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรมแสดงความคิดเห็นภายในห้องอย่างกระตือรือร้นเพื่อที่จะได้สะสมความรู้และประสบการณ์เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตจริง
Friends : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นในการแสดงความคิดเห็นตามทัศนคติของตน และมีการนำเสนอ MindMapping ในรูปแบบที่หลากหลายสวยงามแต่เนื้อหายังไม่ตรงและเหมาะสมเท่าที่ควร
Teachers : มีเทคนิคการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กมาแนะนำ
  • การจัดกิจกรรมครูไม่ควรที่จะบอกเด็กว่าต้องทำยังไงแต่ครูควรให้เด็กได้ทดลองและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เด็กเกิดทักษะ
  • ครูต้องเปฺ็นนักคิด นักออกแบบกิจกรรม แลละกิจกรรมควรเป็นแบบบูรณาการ
  • ครูควรให้เด็กสืบค้นข้อมูลด้วยตนเองหาข้อเท็จจริงและรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • ทุกสิ่งทุกอย่างทีเด็กเรียนรู้หรือจะนำมาจัดกิจกรรมควรเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น