วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson 15

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 17.10 

Knowledge :

Activity : ออกแบบการ์ดให้ความรู้ผู้ปกครอง



Application :
   หลังจากการทำกิจกรรมในวันนี้ได้แนวทางหลายอย่าง เช่น เทคนิคการออกแบบการ์ดเพื่อเป็นสื่ออีกอย่างที่จะนำไปส่งข่าวและประสานสัมพันธุ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัวของเด็กๆ อีกทั้งยังเป็นการบอกต่อความรู้เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปพัฒนาหรือจัดกิจกรรมให้เด็กได้ง่ายๆที่บ้าน 

Evaluation :
Self : วันนี้เขาเรียนตรงงเวลา ร่วมทำกิจกรรมทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวในชั้นเรียนทำให้การเรียนในวันนี้มีความสนุกสนานและได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆจากท่านอาจารย์เพื่อนำไปปรับใช้ในอนาคต
Friends : วันนี้ทุกคนเข้าเรียนตรงเวลาร่วมทำกิจกรรมกลุ่มอย่างเต็มที่เพื่อนทุกคนให้ความสนใจในการทำกิจกรรมแต่มีข้อบกพร่องบางอย่างคือกิจกรรมเดี่ยวของเพื่อนบางคนไม่เตรียมพร้อมจึงให้กิจกรรมนำเสนองานในวันนี้ไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่การเรียนในวันนี้ทุกคนก็ได้รับความรู้จากท่านอาจารย์อย่างเต็มที่
Teacher : 
  • วันนี้อาจารย์มีเทคนิการใช้คำถามซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ  เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด  การตีความ  การไตร่ตรอง  การถ่ายทอดความคิด  สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการถามเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้  ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ กระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด  ทำความเข้าใจให้กระจ่าง  ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน  ก่อให้เกิดการทบทวน  การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่าง ๆ  ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทายสำหรับเด็ก
  • วันนี้เป็นการจัดเรียนการสอนครั้งสุดท้ายท่านอาจารย์จึงได้มีการแนะแนวข้อสอบในท้ายคาบและมีการให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตและการปฏิบัติตัวเป็นบุคคลที่ดีและเป็นตัวอย่างครูที่ดีในอนาคต                                   

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson 14

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 17.00 

Activity : Media

                                       
 Activity : Cooking     


Activity : Research
1. การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการจำแนกประเภท
  • ทักษะการวัด
  • ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติ
  • ทักษะการลงความเห็น
วิธีดำเนินการ
     เปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยมีอุปกรณ์ที่เป็นของจริง รูปภ่พ และสื่อต่างๆ


2.การพัมนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล 2
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์
  2. เพื่เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยมีชุดกิจกรรมดังนี้
  1. แว่นขยาย ให้เด็กได้ใช้แว่นในการสำรวจสิ่งรอบๆตัว
  2. แสง
  3. เสียงจากธรรมชาติ
  4. เสียงที่เกิดจากคน
3.เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ดูเพิ่มเติม
การดำเนินการ : หน่วยเดียวกันต่างกันที่จัดกิจกรรมโดยครูใช้คำถามในด้านต่างๆ
  • ด้านคุณลักษณะ : สี รูปร่าง รูปทรง
  • ด้านปริมาณ : การปริมาณสถานที่หนึ่งกับสถานที่หนึ่ง
  • การเปลี่ยนแปลง
  • ผลการวิเคราะห์ จัดประสบการณ์นอกห้องเรียนมีผลในการส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
4. การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
การดำเนินกิจกรรม
  1. ขั้นนำ การใช้สื่อหรือเพลง คำคล้องจอง
  2. แนะนำส่วนผสมและอุปกรณ์ พร้อมสร้างข้อตกลง
  3. แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม เพื่อทำกิจกรรม
  4. หลังเสร็จกิจกรรมช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่
5.ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
วิธีการดำเนินกิจกรรม
  1. ปริศนาคำทาย
  2. เล่านิทาน
  3. ตั้งคำถามชักชวนให้เด็กทำการทดลอง
  4. ลงมือทำการทดลอง กิจกรรมพับเรือ
Activity : Thai Teachers TV
1.ส่องนกในโรงเรียน วิธีการดำเนินการดังนี้
  • ครูแนะนำนกให้เด็กรู้ก่อนว่ามีนกอะไรบ้าง
  • จากนั้นให้เด็กออกไปสำรวจนรอบๆโรงเรียน
  • ท้ายกิจกรรมมีการสรุปผลร่วมกัน

2.สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
  • จัดบรรยายกาศในการเรียนการสอนให้น่าสนใจและให้เด็กลงมือกระทำ
  • ต้องประเมินผลตามสภาพจริง
  • เด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์จะมีลักษณะอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งรอบตัวรอบข้าง ชอบซักถาม สังเกต ทดลอง เป็นต้น
3.จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย หลักการสอนดังนี้
  • สอนให้สนุก
  • สอนให้เด็กได้ลงมือกระทำ
  • สอนสิ่งรอบบตัวและใกล้ตัวเด็ก
Application :
   จากที่เพื่อนจัดกิจกรรมและนำเสนองานวิจัยในวันนี้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธีมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องวิธีการจัดการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการในการทำงานวิจัยต่างๆให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวันหน้าได้ และการทำCooking ทำให้ข้าพเจ้ามีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น

Evaluation :
Self : วันนี้เขาเรียนตรงงเวลา และการเรียนในวันนี้เป็นการเรียนแบบActive เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาในการทำCooking จึงทำให้ได้ความรู้และประสบการณ์หลายๆอย่าง เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นแนวทางปฏิบ้ติที่น่าสนใจจึงทำให้การเรียนในวันนี้มีความสนุกสานมากค่ะ
Friends :วันนี้เพื่อนมาเรียนไม่ครบแต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อการทำกิจกรรม อีกอย่างวันนี้เป็นการเรียนแบบลงมือกระทำจึงทำให้ทุกคนที่มาเรียนเกิดความรู้ความสนใจและสนุกกับการเรียนในครั้งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
Teacher : วันนี้อาจารย์มีเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ จึงส่งผลให้การเรียนในครั้งนี้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก และอาจารย์ยังมีเทคนิคพร้อมคำแนะนำให้นักศึกษาดังนี้
  • ในการที่จะทำ Cooking เราควรศึกษาข้อมูลและทำตามขั้นตอนเพื่อจะได้ผลออกมาที่ดี เช่น การผสมแป้งไม่ควรใส่น้ำเยอะเกินไปเพราะถ้าเรานำแป้งไปเท่ใส่พิมแป้งที่สุกออกมาจะไม่หนาและน่ารับประทาน
  • การที่เราทำกิจกรรมร่วมกันกลุ่มใหญ่ๆต้องรู้จักการรอคอย
  • หลังจากทำกิจกรรมเสร็จควรช่วยกันเก็บอุปกรณ์และทำความสะอาดเพื่อที่จะได้นำกลับมาใช้ได้อีกในครั้งต่อไป                                                                                                                                              

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson 13

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 

Activity : The instructor

Group 7 :


ชนิดของแปรงสีฟัน
ขั้นนำ ท่องคำคล้องจอง
          แปรงสีฟันมีหลายชนิด  แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
          แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น      รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
          แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี      สะอาดดีเมื่อเราแปรงฟัน

ขั้นสอน จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดว่าใรคำคล้องจองมีอะไรบ้าง และนอกเหนือจากนั้นเด็กๆรู้อะไรเกี่ยวกับชนิดของแปรงสีฟันบ้าง (ครูควรบันทึกคำพูดของเด็กโดยอาจบันทึกเป็นMindMap)
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันทบทวนคำคล้องจองและเนื้อหาที่เรียนมา
             
Group 8 :
ลักษณะของผีเสื้อ
ขั้นนำ ครูสงบเด็กโดยการร้องเพลงสวัสดีแบบไทย
ขั้นสอน 1.ครูท่องคำคล้องจองให้เด็กฟังแล้วให้เด็กพูดตาม ต่อมาครูและเด็กท่องคำคล้องจ้องพร้อมกัน             2.จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดว่าใรคำคล้องจองมีอะไรบ้าง และนอกเหนือจากเนื้อเพลงเด็กๆรู้อะไรอีไหม (ครูควรบันทึกคำพูดของเด็กโดยอาจบันทึกเป็นMindMap)
            3.ครูนำภาพผีเสื้อ 2 ชนิดมาเปรียบเทียบกัน แล้วถามเด็กว่าผีเสื้อ 2 ชนิดนี้มีลักษณะยังไงและมีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร พร้อมบันทึกเป็นตารางและนำมาเปรียบเทียบในวงกลม

                                       
                                   
                                     
ขั้นสรุป  ครูและเด็กร่วมกันทบทวนคำคล้องจองและเนื้อหาที่เรียนมา

Group 9 :
ชนิดของกล้วย
ขั้นนำ ครูท่องคำคล้องจองโยงเข้าเนื้อหา
         กล้วยคือผลไม้  ใครๆก็ชอบกินกล้วย
         ค้างคาวช้างลิงฉันด้วย  กินกล้วยมีวิตามิน
         ลันลาลันลาลันลาาา
จากนั้นครูถามเด็กว่าได้รู้อะไรบ้างในคำคล้องจอง พร้อมบันทึกคำตอบเด็ก

ขั้นสอน ครูนำรูปกล้วยชนิดต่างๆมาให้เด็กทายว่ากล้วยอันนี้เรียกว่ากล้วยอะไร แล้วนำไปติดบนกระดาน จากนั้นครูตั้งเกณฑ์ ว่าให้เด็กมาหยับกล้วยหอมออกมาจากกล้วยที่ไม่ใช่กล้วยหอม และนับทีละหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า
ขั้นสรุป  ครูและเด็กทบทวนที่เรยนมาว่าได้ความรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับชนิดของกล้วย

                                       
 Activity : Cooking      


Activity : Research
1. การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา ดูเพิ่มเติม
ความมุ่งหมาย
1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการวิทยาศาสคร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาโดยรวมและจำแนกรายทักษะ
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
       ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาเป็นการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์ตรงโดยใช้หลักคือ
1.คิดแบบปฎืบัติเด็กได้แสดงออก
2.ได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
โดยครูเป็นผู้สนับสนุนให้คำปรึกษาเด็กเมื่อเด็กลงมือกระทำโดยเน้นให้เด็กมีประสบการณ์ตรงในการได้สังเกตสัมผัส

2.เรื่อง ผลต่อการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีผลต่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย2540
ใช้การสังเกต--ความสามารถในการรับรู้ประสามสัมผัสทั้ง5

3.เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ดูเพิ่มเติม
การดำเนินการ : หน่วยเดียวกันต่างกันที่จัดกิจกรรมโดยครูใช้คำถามในด้านต่างๆ
  • ด้านคุณลักษณะ : สี รูปร่าง รูปทรง
  • ด้านปริมาณ : การปริมาณสถานที่หนึ่งกับสถานที่หนึ่ง
  • การเปลี่ยนแปลง
  • ผลการวิเคราะห์ จัดประสบการณ์นอกห้องเรียนมีผลในการส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Application :
   จากที่เพื่อนจัดกิจกรรมและนำเสนองานวิจัยในวันนี้ทำข้าพเจ้ามีรู้จักกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธีมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องวิธีการจัดการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการในการทำงานวิจัยต่างๆให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวันหน้าได้เนื่องจากอนาคตความเป็นครูจำเป้นที่จะต้องเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้อยู่เป็นนิจ

Evaluation :
Self : วันนี้เขาเรียนตรงงเวลาและได้ไปช่วยอาจารย์จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อนำมาสอนการทำ cooking ในชั้นเรียน ทำให้การเรียนในวันนี้เป็นการเรียนแบบActive จึงทำให้ได้ความรู้และประสบการณ์หลายๆอย่าง เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ต่อไป
Friends :วันนี้เพื่อนบางคนเข้าเรียนสายและไม่ค่อยมีความพร้อมในการเรียนการสอนสักเท่าไร  อาจเนื่องมาจากเป็นวันศุกร์สุดสัปดาห์และเป้นคาบเรียนสุดท้ายของอาทิตย์ แต่นักศึกษาส่วนใหญ่ก็ให้ความสนใจและสนุกกับการเรียนในครั้งนี้ เนื่องจากทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
Teacher : วันนี้อาจารย์มีเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ จึงส่งผลให้การเรียนในครั้งนี้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
                                                                                                                                                     

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Thai Teachers TV

Thai Teachers TV
เรื่อง สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย(กรรณิการ์ เฉิน)

       ครูกรรณิการ์ เฉิน มีเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง, การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ

สรุป

     เป็นกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็ก ๆ ที่ดีมาก เป็นการฝึกทักษะการคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกหาเหตุผลสนับสนุนจากการคิดของเขา และเป็นกิจกรรมที่ง่าย ไม่ยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์โดยหาได้ง่ายๆเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เด็กๆได้ปฏิบัติจริงที่สำคัญครูต้องป้อนคำถามให้เกิดการเรียนรู้ให้ได้ครูต้องมีทักษะในการถาม เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์

Lesson 12

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันศุกร์ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.40 

Activity : The instructor

Group 1 :
ส่วนประกอบของกบ
ขั้นนำ ถามความเรื่องเกี่ยวกับกบ
ขั้นสอน
  1. ร้องเพลงกบ   
    กบ กบ กบ กบมันมีสี่ขา  ขาหลังกระโดดขึ้นมา มันแลบลิ้นแพร่บๆ
  2. จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดว่าในเนื้อเพลงมีอะไรบ้าง และนอกเหนือจากเนื้อเพลงเด็กๆรู้อะไรเกี่ยวกับกบบ้าง
            

Group 2 :
ประโยชน์และข้อพึ่ระวังของกะล่ำปี
ขั้นนำ ให้เด็กปรบมือเรียกสามธิเด็ก
ขั้นสอน  ร้องเพลงกะล่ำปี และเล่านิทานเรื่องคนสวนขายกะล่ำปี

Group 3 :
ประโยชน์ของส้ม
ขั้นนำ โดยใช้เพลง 
ตบมือเปาะแปะ เรียกแพะเข้ามา แพะไม่มาปิดประตูรูดซิบ
ขั้นสอน ให้เด็กดูภาพและใช้คำถามกระตุ้นเด็ก

Group 4 :
ประโยชน์ของดอกมะลิ โดยการทำ Cooking
ขั้นนำ บอกส่วนประกอบ และวิธีการทำดอกมะลิซุบแป้งทอด 
ขั้นสอน สาธิตการทำและให้เด็กแบ่งกลุ่มกันทำ หรือไม่ก็เรียกตัวแทนออกมาทำและให้เด็กสังเกต และใช้คำถามกระตุ้นขนาดทำเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิด

Group 5 :
วิธีการเลี้ยงดูไก่
ขั้นนำ ท่องคำคล้องจ้องเกี่ยวกับไก่
          กอไก่กุ๊กกุ๊ก เช้าอยู่ทุ่งนา 
          สายอยู่ทุ่งหญ้า เย็นพาเข้าซุ่ม
          เดินย่องยุ่มๆ ทั้งเขี่ยอาหาร
          รวมทั้งพืชผัก ข้าวเปลือกข้าวสาร
          ที่เป็นอาหาร  ทั้งหนอนไส้เดือน
          แล้วทุกหกเดือน ต้องฉีดวัคซีน
          เพื่อป้องกันโรค ให้ไก่แข็งแรง
ขั้นสอน  ใช้คำถามถ้วนประสบการณืเดิมของเด็ก

Group 6 :
ประโยชน์ปลาทู
ขั้นนำ บอกส่วนบอกกอบการทอดปลาทู
ขั้นสอน พาเด็กทอดปลาทู

Application :
    จากการที่ได้สอบสอนทำให้เห็นถึงความหลากหลายในวิธีการสอนและนำเสนอของแต่ละกลุ่ม ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และยังสามารถนำไปบูรณาการกับอีก 6 กิจกรรมหลักที่ส่งผลต่อพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัยได้ในโอกาสต่อไป

Evaluation :
Self : วันนี้เข้าเรียนก่อนเวลาเพื่อมาเตรียมอุปกรณ์และซ้อมสอนกับกลุ่มเพื่อนเพื่อให้สามารถสอบสอนผ่านไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ พอได้สอนจริงๆรู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่ตนนำมาสอน และกิจกรรมของเพื่อนกลุ่มอื่นๆมีความน่าสนใจดี แต่อาจมีส่วนน้อยที่ไม่มีการเตรียมตัวจึงทำให้มีข้อติดขัดบ้าง
Friends : วันนี้เพื่อนทุกคนสอบสอนได้หลากหลายและน่าสนใจ สาามารถทำได้ดีในระดับหนึ่งจึงให้บรรยายกาศในการเรียนครั้งนี้ สนุกสนานและมีความน่าสนใจตลอดเวลา
Teacher : วันนี้อาจารย์มีคำแนะนำและเทคนิคการสอนดีๆแนะนำนักศึกษาดังนี้
  • Group 1 : คำพูดที่จะย้ำต้องใช้คำถามกระตุ้นเด็ก และการที่จะสอนควรเป็นขั้นตอนให้เด็กได้สังเกตการไล่ลำดับ
  • Group 2 : ขั้นตอนการสอนต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่จะสอน และควรมีการใช้คำถามกระตุ้นเด็กเป็นระยะ
  • Group 3 : เวลาเด็กตอบคำถามควรมีการบันทึกคำตอบเด็ก ขั้นตอนการสอนจะคล้ายกันเด็กจะเกิดการสนใจหรือการเรียนรู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการสอน
  • Group 4 : การบอกขั้นตอนควรเป็นขั้นตอนที่ชัดเจนและเด้กสามารถทำตามได้ง่ายๆ
  • Group 5 : ในการสอนครูควรหาข้อมูลเพิ่มเติมและไม่ควรออกนอกเรื่องตามเด็ก ควรดึงเด็กให้ตรงงตามจุดประสงค์ในการสอน
  • Group 6 : การที่จะประกอบอาหารควรเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและสะอาดไม่รบกวนมลภาวะ

Summary of Research


The effect of natural color learning activites on young children scientific basic skills.
   
 
       วิจัยเกี่ยวกับผลของการจัดกิจรรมการเรียนรู้ผ่านหน่วยการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ครูปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยต่อไป
ความมุ่งหมาย

  1. เพื่อศึกษาการจัดกิจรรมการเรียนรู้ผ่านหน่วยการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมก่อนและหลังการทดลอง
     เป็นการวิจัยกึ่งการทดลองโดยการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะทางวิทยาศาสตร์

การดำเนินการ :
กลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัยชาย - หญิงอายุ 5-6ปี จำนวน 30 คน และจับฉลากเพื่อกำหนดกลุ่ม 15 คน
เครื่องมือ 
  1. แผนการจัดกิจกรรมเรื่องสีจากธรรมชาต
  2. แบบทดสอบทักษะทางวิทยาศาสตร์
สรุปผลที่ได้
    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการทดลองมีทักษะดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองดีขึ้นและเด็กได้ทักษะดังนี้
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการหามิติสัมพันธ์
  4. ทักษะการลงความเห็นข้อมูล